top of page

การจัดการโกดังสินค้า ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์

          หลักการทางคณิตศาสตร์กับการจัดการการหยิบสินค้า ในธุรกิจ E-commerce ขนาดใหญ่ !!!!! อีก 1 การประยุกต์ทักษะทางคณิตศาสตร์ มาจัดการคลังสินค้า !!! โดย ดร.ภานุพงศ์ วิจิตรคุณากร อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ

        ในปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ ธุรกิจออนไลน์ e-commerce กำลังขยายตัวอย่างมาก ตัวอย่างการเติบโตของบริษัท e-commerce ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกอย่าง Amazon และ Alibaba หรือแม้แต่บริษัท e-commerce ในไทย เช่น Lazada เป็นต้น ... บริษัทเหล่านี้ต่างมีคลังสินค้าขนาดใหญ่เป็นของตนเอง การหยิบสินค้าจึงถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ เพราะกระบวนการนี้ใช้ทุนสูงทั้งในส่วนของชั่วโมงแรงงานและเครื่องมือที่ใช้อำนวยความสะดวก

        งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายคือการพัฒนาระเบียบวิธี (algorithm) การหยิบสินค้า โดยไม่มีเงื่อนไขของจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด และพัฒนาไปบนคลังสินค้ารูปแบบต่าง ๆ พร้อมนำไปพัฒนากระบวนการหยิบสินค้าในคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่มีระบบการหยิบสินค้าแบบ picker-to-part  

        ดังนั้นการหยิบสินค้าที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้องค์กรสามารถลดต้นทุนในการจัดการภายในคลังสินค้า ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันในเวลาที่กำหนด ส่งผลทำให้ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้น และองค์กรสร้างความได้เปรียบทางการตลาดอีกทางหนึ่งด้วย ธุรกิจใดต้องการคำปรึกษา สามารถประสานงานผ่าน ดร.ภานุพงศ์ วิจิตรคุณากร ได้ที่ panupong.v@psu.ac.th

วิทยาศาสตร์กับไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019

         “ณ ปัจจุบันนี้จะพบว่ามีการแพร่กระจายของเชื้อไปยังผู้อื่นที่ไม่ได้สัมผัสกับสัตว์โดยตรงได้ด้วย ดังนั้นจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่พอจะตัดสินได้ว่า เชื้อสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน เราควรจะมีการป้องกันไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ป่วยป้องกันตนเองมีการใส่หน้ากากอนามัยล้างมือหรือปิดปากปิดจมูก ขณะ ไอ จาม อยากจะฝากว่าผู้รับข่าวสารทุกท่านอย่าตื่นตระหนก ควรจะรับข่าวด้วยการใช้วิจารณญาณและเลือกแหล่งข้อมูลในการอ่าน ในการรับข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ มีการปฎิบัติตนให้ถูกต้องตามข้อแนะนำ ของกรมควบคุมโรคหรือว่า WHO หรือ CDC” ผศ.ดร.วิภาวดี เสียงล้ำ อาจารย์ประจำภาคจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

        #ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019 โรคนี้ถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ คนไม่มีภูมิคุ้มกัน หมายถึงประชากรทั่วโลก ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ เรายังไม่มีวัคซีน ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะนักจุลชีววิทยา มีส่วนร่วมเกี่ยวกับประเด็นนี้ในหลายๆจุด อีก 1 บทบาทสำคัญที่น่าติดตาม เรามาดูกันว่า บทบาทดังกล่าวมีอะไรกันบ้าง

bottom of page